แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแนวทางการพัฒนา
1. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐาน
เป้าหมาย
- เพื่อก่อสร้างและซ่อมบำรุงโครงสร้างพื้นฐานในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านแขม
ให้มีความสะดวกและมีมาตรฐาน เพื่อยกระดับความเป็นอยู่และอำนวยความสะดวกในชุมชนเป็นการพัฒนาด้านกายภาพเกี่ยวกับการสาธารณูปโภคและสาธารณูปการต่างๆ และเพื่อสนับสนุนยุทธศาสตร์ในด้านอื่นๆ ให้ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ด้านคมนาคมขนส่ง ด้านความสงบเรียบร้อย และความสงบสุขของประชาชนและด้านเศรษฐกิจ
แนวทางการพัฒนา
ก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเศรษฐกิจให้ประชาชนได้รับการบริการสาธารณะ ให้ความสะดวก และรวดเร็วขึ้น โดยเน้นการมีมาตรฐานและเกิดความยุติธรรมดังนี้
1. ก่อสร้างและปรับปรุงบำรุงถนน สะพาน ทางเท้า ท่อระบายน้ำให้เป็นไปด้วยความสะดวก
2. ก่อสร้างขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะ
3. ก่อสร้างและขยายเขตการบริการประปา
4. ติดตั้งโทรศัพท์สาธารณะประจำหมู่บ้าน และติดตั้งคู่สายโทรศัพท์ตามบ้านเรือน
5. จัดทำผังเมือง (ตำบลใหม่)
6. บริการสาธารณะที่ประชาชนพึงได้รับอย่างถ้วนหน้า
ตัวชี้วัด
1. จำนวนการก่อสร้างและปรับปรุงถนนทางระบายน้ำ
2. ประชาชนสัญจรไป – มาในหมู่บ้าน ระหว่างหมู่บ้านและตำบลได้สะดวกยิ่งขึ้น
3. จำนวนปริมาณการขยายเขตไฟฟ้าและไฟฟ้าสาธารณะให้ครบทุกครัวเรือน
4. จำนวนปริมาณการขยายเขตประปาให้ครบทุกครัวเรือน
5. จำนวนการได้รับบริการสาธารณะอื่นๆ เช่น โทรศัพท์สาธารณะ
2. ยุทธศาสตร์ด้านเศรษฐกิจการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว
เป้าหมาย
- เพื่อสนับสนุนให้ประชาชนภายในตำบล หันมาให้ความสำคัญด้านการค้า การลงทุน ของชุมชน รวมทั้งการท่องเที่ยว เพื่อให้ประชาชน แต่ละครัวเรือนหันมาผลิตสินค้าการเกษตร สามารถนำสินค้าที่ผลิต หรือแปรรูปการเกษตร มาค้าขาย รวมทั้ง รู้จักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่มีอยู่ในธรรมชาติ ให้สวยงาม สนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์แหล่งท่องเที่ยว เพื่อเพิ่มรายได้ในตำบล และมีการจัดหาตลาดชุมชนเพื่อนำสินค้ามาวางขาย ซึ่งสามารถขยาย การลงทุนให้เป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาในด้านการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว
แนวทางการพัฒนา
1. ดำเนินการจัดหาตลาดชุมชนเพื่อเป็นศูนย์กลางการค้า
2. พัฒนา ปรับปรุงและส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวภูมิทัศน์ภายในตำบลเพื่อเพิ่มรายได้
3. เพิ่มทักษะความรู้ด้านอาชีพ ฝึกอบรมส่งเสริมอาชีพแก่ประชาชนและกลุ่มอาชีพ เพื่อแก้ปัญหาการว่างงาน
4. อุดหนุน ส่งเสริมการลงทุนและการขยายตัวเศรษฐกิจภายในตำบล
ตัวชี้วัด
1. ประชากรมีอาชีพมากขึ้นและได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์
2. ประชากรมีธุรกิจอุตสาหกรรมในครัวเรือนอย่างทั่วถึง
3. จำนวนประชากรที่เข้ามาชมแหล่งท่องเที่ยวในตำบล
4. จำนวนราษฎรมีอาชีพและมีรายได้เพิ่มขึ้น
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนาการเกษตรและการแปรรูปสินค้าเกษตร
เป้าหมาย
- เพื่อสนับสนุนเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน โดยเฉพาะผลผลิตทางการเกษตร และผลิตผลในการแปรรูปสินค้าทางการเกษตร โดยฝึกอบรมให้ความรู้และมีความสามารถที่จะผลิตสินค้าทางการเกษตร เพื่อขายได้กำไร มีผลผลิตที่เพิ่มขึ้น และสามารถขยายการตลาดการเกษตรไปสู่ตลาดกลางซึ่งเป็นไปตามยุทธศาสตร์การพัฒนาและการแปรรูปสินค้าเกษตรและยุทธศาสตร์สร้างความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจและแก้ไขปัญหาความยากจนของจังหวัดอุบลราชธานี
แนวทางการพัฒนา
1. ดำเนินเศรษฐกิจแบบพอเพียงและส่งเสริมภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมให้ประชาชนมีความรู้ ความสามารถในการผลิตสินค้าทางการเกษตร
2. เสริมสร้างและเพิ่มทักษะอาชีพของครัวเรือนและกลุ่มอาชีพ
3. ติดต่อประสานงานขอความร่วมมือในการหาตลาดเพื่อรองรับสินค้าทางการเกษตรในชุมชน
4. ส่งเสริมการประกอบธุรกิจในชุมชนและฝึกอบรมการแปรรูปสิ้นค้า
ตัวชี้วัด
1. จำนวนประชากรที่มีทักษะในการผลิตผลทางการแปรรูปสินค้ามากขึ้น
2. จำนวนครัวเรือนและกลุ่มอาชีพที่มีทักษะในการประกอบอาชีพ
3. จำนวนสถานประกอบการที่เพิ่มขึ้นอย่างมีระบบ
4. จำนวนราษฎรได้รับความรู้และพัฒนาการผลิตทางการเกษตร และมีรายได้เพิ่มขึ้น
4. ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีและเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน
เป้าหมาย
เพื่อเสริมสร้างทักษะของคนภายในชุมชนทั้งทางด้านจิตใจ ด้านการศึกษา ด้านสุขภาพอนามัย ด้านสวัสดิการและสังคม ด้านกีฬา ให้มีสุขภาพ คุณภาพชีวิตและสวัสดิภาพด้านสังคมที่ดีพร้อมทั้งสามารถพึ่งพาตนเองได้ และประชาชนในพื้นที่มีโอกาสได้รับการศึกษาอย่างทั่วถึง ซึ่งเป็นไปตามแนวทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 10 (พ.ศ.2550 – 2555)
แนวทางการพัฒนา
1. การพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรมและวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
2. การพัฒนาและส่งเสริมการศึกษา
3. การพัฒนาส่งเสริมด้านสุขภาพและอนามัย
4. การพัฒนาและส่งเสริมด้านสวัสดิการชุมชน
5. การพัฒนาและส่งเสริมด้านกีฬาและการนันทนาการ
6. ส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
7. สนับสนุน พื้นฟู อนุรักษ์ประเพณีศิลปวัฒนธรรม และสนับสนุนภูมิปัญญาในท้องถิ่นให้คงอยู่ตลอดไป
ตัวชี้วัด
1. จำนวนชุมชนที่มีความสงบสุขพึงปรารถนาร่วมกัน
2. จำนวนประชาชนที่ได้รับการศึกษาและศึกษาเพิ่มขึ้น
3. จำนวนประชาชนผู้มีสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตดี
4. จำนวนประชาชนคนรุ่นใหม่รู้คุณค่าและธำรงประเพณี กิจกรรมทางศาสนาและสนับสนุนภูมิปัญญาท้องถิ่นเพิ่มขึ้น
5. ยุทธศาสตร์การพัฒนาด้านการบริการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
เป้าหมาย
เพื่อพัฒนาระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมอันพึงปรารถนาร่วมกันไม่ให้มีปัญหาภายในชุมชนและประชาชนในชุมชนรู้คุณค่าของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม และร่วมกันพัฒนา / บำรุงรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้มีความอุดมสมบูรณ์ซึ่งเป็นไปตามแนวทางยุทธศาสตร์พัฒนาจังหวัด
แนวทางการพัฒนา
1. สร้างจิตสำนึกและความตระหนักในการอนุรักษ์ธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม
2. สนับสนุน งบประมาณเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย และฟื้นฟูธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ตัวชี้วัด
1. จำนวนของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. จำนวนผู้ได้รับความช่วยเหลือจากประสบภัยประจำปี
6. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบบริหารงานแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
เป้าหมาย
เพื่อสนับสนุนประชาชนทุกภาคส่วนให้มีส่วนร่วมในการพัฒนาและตรวจสอบการทำงานของภาครัฐและให้บรรลุแนวทางการดำเนินงานของจังหวัดอุบลราชธานี ตามยุทธศาสตร์การบริหารราชการให้เป็นไปตามหลักการบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดี
แนวทางการพัฒนา
1. พัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ ความสามารถ มีคุณธรรม จริยธรรม ในการปฏิบัติงานเพิ่มขึ้นในรูปของ การอบรม ทุนการศึกษา หรือ อบรมและศึกษาดูงาน และอื่นๆ
2. จัดหาและสนับสนุนวัสดุ อุปกรณ์ครุภัณฑ์สำนักงาน และการให้บริการ และการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชน
ตัวชี้วัด
1. จำนวนประชากรที่เข้ามาใช้บริการ อบต.
2. จำนวนบุคลากรและอุปกรณ์มีศักยภาพในการบริการประชาชนเพิ่มขึ้น
3. จำนวนประชากรที่ร่วมประชาคม แสดงความคิดเห็น
4. ความพึงพอใจของประชาชนผู้ใช้บริการ
7. ยุทธศาสตร์เพื่อเสริมสร้างและรักษาความมั่นคง
เป้าหมาย
เพื่อปฏิบัติงานหรือดำเนินการตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนในการจัดระบบบริการสาธารณะระหว่างรัฐกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตามแผนการกระจายอำนาจให้แก่องค์กรปกครอง
ส่วนท้องถิ่นและปฏิบัติงานตามแนวทางนโยบายของรัฐบาล โดยให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น และประชาชนสามารถตรวจสอบได้
แนวทางการพัฒนา
ปฏิบัติงานตามภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนงานในการจัดการระบบบริการสาธารณะตามแนวทางและหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการกระจายอำนาจกำหนดและดำเนินงานหรือกิจการที่ได้มอบหมาย
จากรัฐบาล โดยเน้นให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาท้องถิ่น และให้ประชาชนในท้องถิ่นได้รู้ และเข้าใจในการปกครองระบบประชาธิปไตย กฎหมาย มีการส่งเสริมกิจกรรมที่ให้ประชาชนได้แสดงความจงรักษ์ภักดิ์ดี รวมถึง ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ มีคุณธรรม จริยธรรม
ตัวชี้วัด
1. จำนวนภารกิจที่ได้รับการถ่ายโอนงานบริการกิจการสาธารณะ
2. ประชาชนที่ร่วมประชาคม และ ให้ความร่วมมือในการจัดเก็บ จปฐ.
3. ประชาชนมีความรู้ในเรื่องของการเมือง การปกครอง
4. ประชาชนได้รับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน จำนวนอุบัติเหตุ อุบัติภัย อาชญากรรมมีจำนวนลดลง
|
|